top of page

“ปลดล๊อคเงินเดือนให้สูงขึ้น” ด้วย 5 เทคนิคต่อรองเงินเดือนขั้นเทพ

ในการสมัครงาน

หลายคนมักกังวลเมื่อมาถึงขั้นตอนพูดคุยเรื่องเงินเดือนกับทางฝ่ายบุคคลหรือเจ้าของบริษัท ไหนจะโดนต่อรองเงินเดือนโดยที่เรายังไม่แน่ใจว่าตัวเลขนี้เราจะพอใจไหม และถ้าเราอยากขอเพิ่มเราก็เกรงว่าบริษัทก็จะปฏิเสธเราได้อีก


วันนี้เราได้รวบรวมเทคนิคการสมัครงาน ที่ได้จากการสัมภาษณ์มนุษย์เงินเดือนมากกว่า 300 คนที่ใช้เป็นประจำในการต่อรองเงินเดือน #รับรองว่าง่าย และใช้ได้จริง #มนุษย์เงินเดือนต้องรู้


1. เช็คราคาท้องตลาดและเปรียบเทียบ (Research and Benchmarking)

วิธีเช็คฐานเงินเดือนท้องตลาดนั้นง่ายมาก เพียงเข้าไปตามเว็ปไซต์ที่ให้เครื่องมือช่วยเปรียบเทียบเงินเดือนซึ่งเราได้คัดมาให้แล้ว คือ

JobsDB



เข้าไปกรอกข้อมูลเพื่อดูค่าเฉลี่ยเงินเดือนในท้องตลาด และเปรียบเทียบกับเงินที่เราคาดหวังว่าสูงหรือต่ำกว่าหรือไม่


2. โชว์ให้บริษัทเห็นถึงคุณค่าตัวเรา มากกว่าเงินเดือนที่ขอสูงขึ้น (Show Your Value)

แทนที่เราจะตอบว่าอยากได้เงินเดือนสูงขึ้นเพราะที่ปัจจุบันได้น้อย หรือที่อื่นให้ได้สูงกว่าอยู่แล้ว ให้เปลี่ยนเป็นอธิบายให้บริษัทเห็นภาพว่าเราจะสร้างผลลัพธ์ให้บริษัทได้มากเท่าไหร่และต้องมีปริมาณให้เห็น


#เทคนิคง่ายๆที่เราอยากแนะนำให้พูด เช่น ด้วยตำแหน่งงาน Sales ที่ล่าสุด ผม/ดิฉันได้ช่วยเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทได้ถึง 30% เทียบกับปีก่อนหน้านั้น


3. พิจารณาเงินเดือนให้ครอบคลุมทั้งแพคเกจ (Consider Total Package)

อย่าลืมว่านอกจากฐานเงินเดือน เราควรพิจารณาถึงแพคเกจรายได้ทั้งหมดของบริษัทด้วย เช่น ประกันสังคม (Social Security), ประกันสุขภาพ (Health Insurance), โบนัส (Bonus), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เป็นต้น


เพราะบางบริษัทอาจจะให้ฐานเงินเดือนที่สูงๆ แต่กลับไม่มีสวัสดิการอื่นๆ ให้เลย ถ้าเป็นเช่นนี้ การขอฐานเงินเดือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยจึงจำเป็น เพื่อชดเชยกับสวัสดิการอื่นๆ ที่ไม่ได้มีให้


4. แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นที่จะได้งานนี้ (Express Enthusiasm)

ทุกบริษัทมีมุมมองในเรื่องธุรกิจที่จะต้องลงทุนกับตัวบุคคลว่าจะทำผลลัพธ์ให้ได้คุ้มค่าหรือไม่ และสิ่งที่จะทำให้บริษัทรู้สึกเช่นนั้นได้ในเบื้องต้นคือ การส่งความรู้สึกถึงความตื่นเต้นที่เราจะได้ทำงานกับที่นี่ ตื่นเต้นกับตำแหน่งงานหรือบทบาทที่เราจะได้รับมอบหมาย มากกว่าที่เราจะเอาแต่พูดเรื่องเงินเดือนที่สูงขึ้น


ตัวอย่างการพูดคุยในขั้นตอนนี้ เช่น ผม/ดิฉัน รู้สึกตื่นเต้นดีใจมาก รวมถึงบทบาทที่ได้รับมอบหมายเพื่อจะสร้างผลลัพธ์ให้กับบริษัทได้ตามที่ต้องการ และหวังว่าเราสามารถพูดคุยในเรื่องแพคเกจเงินเดือนที่เหมาะสมและลงตัวได้ทั้งสองฝ่ายครับ/ค่ะ


5. รอให้เป็นเย็นให้พอ (Silence)

หลังการสัมภาษณ์ หลายๆครั้ง บริษัทเองก็มักจะเงียบไปสักระยะนึง นั่นเป็นเพราะหลังจากที่เราได้บอกถึงตัวเลขเงินเดือนที่เราคาดหวังแล้ว บริษัทเองก็ต้องกลับไปคิดเช่นเดียวกัน และการที่เงียบไปทั้งสองฝ่าย ก็เป็นการสร้างความกดดันของทั้งสองฝ่ายเช่นเดียวกัน ปล่อยให้ความเงียบได้ทำงานได้เติมเต็มความคิดของฝั่งนายจ้าง เพราะหลายๆ ครั้ง นายจ้างเองก็มักติดต่อกลับมาพร้อมกับแพคเกจเงินเดือนที่สูงกว่าที่เราคาด!


สรุปท้าย:

อย่าลืมว่าการต่อรองเงินเดือนที่ดีนั้น ต้องรักษาบรรยากาศการรับฟังและความเปิดใจ เพื่อให้อารมณ์ของผู้ว่าจ้างนั้นเป็นบวกต่อตัวเรา เพราะหลายๆ ครั้งการต่อรองเงินเดือนมักจะเปลี่ยนเป็นสนามรบของทั้งสองฝั่งที่ต้องมาฟาดฟันกันจนสุดท้ายไม่พอใจและไม่ยินดีที่จะร่วมงานกัน ทั้งๆ ที่ทุกอย่างกำลังไปได้ด้วยดี


เพราะฉะนั้นพนักงานต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทางบริษัทในทุกๆ ขั้นของการพูดคุย และโชว์ให้เห็นถึงคุณค่าที่เค้าจะได้รับจากการว่าจ้างเรา มากกว่าที่จะพูดแค่ว่าเราอยากได้เงินเท่านั้นเท่านี้ เราถึงจะอยากทำกับบริษัทด้วย


หวังว่าเทคนิคการสมัครงานนี้ จะเป็นประโยชน์กับ #ชาวมนุษย์เงินเดือน ที่กำลังเติบโตและก้าวหน้านะครับ




=========================


อย่าลืมกดติดตามพวกเรา Facebook: https://web.facebook.com/Smartcruit


HR ต้องการใช้บริการ Recruitment หาพนักงาน: https://www.smartcruit.co/executivesearch-recruitment-hiring


ผู้สมัครต้องการฝากประวัติหางาน: https://www.smartcruit.co/jobseekers

289 views0 comments

Comments


bottom of page