ครั้งนึง เอริก ชมิดต์ (Eric Schmidt) อดีตCEO Google ได้รับข้อสงสัยว่าถ้าตัดหน้าที่เดิมๆ อย่างการให้รางวัลและการลงโทษไป แล้วจะเหลืออะไรให้ผู้จัดการทำ
Eric Schmidt มีมุมมองว่า
“หัวหน้า(ผู้จัดการ)ต้องรับใช้ทีมงาน”
“มาตรฐานของกูเกิลคือการที่ผู้จัดการไม่ได้มุ่งเน้นการลงโทษหรือการให้รางวัล แต่มุ่งเน้นที่การทำลายอุปสรรคและการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีม”
เป็นไปได้มั้ย? ถ้าองค์กรเราทำแบบนี้แล้วจะเพิ่มผลผลิตของงาน (productivity) ได้มากขึ้น
“เอ็มไอที (มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก 7 ปีซ้อน) พบว่าหลักการนี้ใช้ได้ผลแม้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
โดยเปรียบเทียบโรงงานผลิตเสื้อยืดไนกี้ 2 แห่ง ===
โรงงาน ก. ให้คนงานช่วยกำหนดเป้าหมายในการผลิต จัดทีมกันเอง และเลือกวิธีแบ่งขั้นตอนการทำงาน และยังมอบอำนาจให้หยุดการผลิตได้หากเห็นว่ามีปัญหา
โรงงาน ข. ควบคุมทุกอย่าง มีกฎที่เข้มงวดเกี่ยวกับเวลาและวิธีการทำงาน และต้องทำอย่างเคร่งครัด
ผลปรากฎว่า โรงงาน ก. ผลิตเสื้อได้ 150 ตัวต่อวัน, โรงงาน ข. ผลิตได้ 80 ตัวต่อวัน ในขณะที่ค่าแรงโรงงาน ก. ได้มากกว่าแต่ต้นทุนการผลิตเสื้อกลับต่ำกว่า โรงงาน ข. 40%
หัวหน้า (หรือเจ้าของบริษัท) ควรเป็น Facilitator (ผู้อำนวยความสะดวก) มากกว่าเป็นผู้ที่คอยกำหนดให้ทำนั่นนี่?
เราเคยเห็นเจ้าของบริษัทหรือหัวหน้า ยกของเอง ถูพื้นเอง
พูดคุยเรื่องการแก้ปัญหามากกว่าดุด่าในผลงาน
เดินเข้าไปคุยกับทีมทันทีเมื่อเห็นว่ากำลังเครียดมากกว่ารอให้ทีมเดินมาหา
บางทีเค้าอาจจะเป็น Facilitator (ผู้อำนวยความสะดวก) ที่ดีซึ่งอาจจะสำคัญกว่าการเป็น Manager (ผู้จัดการ/หัวหน้า) จากบทบาทที่เค้าได้รับก็เป็นได้นะครับ
-----------------------------
>> ตอนนึงจากหนังสือ Work Rules (กฎการทำงานของ Google) หน้า 22 – 25
>> แนวคิดหลักการนี้สอดคล้องกับการใช้ OKRs ในบริษัท Google เองด้วย
----------------------------
Comments